การวิเคราะห์ปัญหาที่เกิดขึ้นกับไข่ฟักและลูกไก่ที่ฟักออก

364 จำนวนผู้เข้าชม  | 

การวิเคราะห์ปัญหาที่เกิดขึ้นกับไข่ฟักและลูกไก่ที่ฟักออก

การวิเคราะห์ปัญหาที่เกิดขึ้นกับไข่ฟักและลูกไก่ที่ฟักออก การตายในระยะแรก (วันที่1-7) วัน และ
การตายในระยะกลาง (วันที่8-14)

 

ในวันแรกของการฟักไข่ ตัวอ่อนจะเริ่มมีการพัฒนาภายใต้สภาพแวดล้อมที่เหมาะสม ตัวอ่อนภายในฟองไข่ทั้งหมดจะพัฒนาและเติบโตในอัตราเดียวกัน แต่ในความเป็นจริงตัวอ่อนภายในฟองไข่จะมีการพัฒนาต่างกันเล็กน้อยขึ้นอยู่กับอุณหภูมิในการฟักไข่ที่แน่นอน ความเร็วที่ตัวอ่อนพัฒนา จะถูกควบคุมโดยอุณหภูมิที่ฟักไข่โดยตรง หากอุณหภูมิในการฟักไข่เบี่ยงเบนไปจากสภาพแวดล้อมที่เหมาะสม จะเกิดการเปลี่ยนแปลงในการเติบโตของตัวอ่อนได้ จะทำให้พัฒนาการเจริญเติบโตได้ไม่เต็มที่ ดังนั้น การตายของการเจริญเติบโตของตัวอ่อนในไข่ฟัก แบ่งได้เป็น 4 ระยะ ซึ่งการตายของตัวอ่อนแต่ละระยะมีสาเหตุที่แตกต่างกัน

ขอบคุณรูปภาพจาก Petersime (2022)

ระยะที่1 การตายก่อนวางไข่ (Previposital mortality)

            เกิดจากฟองไข่อยู่ในตัวแม่ไก่นานเกินไป หรือถ้าตัวอ่อนยังไม่ตาย มีปัจจัยที่ส่งผลหลายอย่าง เช่น ไข่ฟองใหญ่จะอยู่ในตัวแม่ไก่นานกว่าไข่ฟองเล็ก ไข่เปลือกหนาจะอยู่ในตัวแม่ไก่นานกว่าไข่เปลือกบาง แม่ไก่ที่ไข่ไม่ดกจะส่งผลให้ฟองไข่อยู่ในตัวแม่ไก่นานกว่าแม่ไก่ที่ให้ไข่ดก (Donold et al., 2012)

ขอบคุณรูปภาพจาก Petersime (2022)

ระยะที่2 การตายของตัวอ่อนช่วงต้นของการฟัก (Early dead embryo)

            เกิดขึ้นในสัปดาห์แรกของการฟักไข่อาจเกิดจากการเก็บรักษาไข่ฟักในสภาพที่ไม่เหมาะสม ทำให้ระบบไหลเวียนเลือดพัฒนาขึ้นมาถึงระยะหนึ่ง เลือดจะเคลื่อนที่มารวมกันอยู่ด้านนอกของระบบไหลเวียนโลหิต ทำให้มองเห็นเป็นวงแหวนการตายในระยะนี้ประมาณ 2.75% (ประภากร, 2560)

เรานำความรู้ที่ศึกษามาให้ความรู้กับทุกคนในช่วงระยะที่1และระยะที่2 ก่อนนะคะ

 แล้วในระยะที่3 และในระยะที่4 สามารถอ่านได้ที่ คลิ๊กที่นี่ ได้เลยค่า 

ถ้าทุกคนอยากรู้เรื่องอะไรเกี่ยวกับการฟักไข่ สามารถบอกได้เลยนะคะ เราจะนำความรู้ที่ศึกษามาให้ความรู้กับทุกๆคนเลยค่า

 

Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้